วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คลื่นดล

คลื่นดล

puse wave
คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียวหรือ 2 ครั้ง ทำให้เกิดคลื่นเพียง 1 หรือ 2 ลูกคลื่นเท่านั้น เช่น การโยนก้อนหินก้อนเดียวลงในน้ำ จะพบว่าคลื่นดลเพียงกลุ่มหนึ่งกระจายออกไปโดย รอบ ๆ
คลื่นดลอาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดเป็นแนวตรงหรือเป็นวงกลมก็ได้ แล้วแต่แหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดคลื่น

ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=691&Itemid=62

สืบค้นเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ

คลื่นกล (mechanical wave) คลื่นกล (mechanical wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลาง ในการถ่ายโอนพลังงาน แบ่งเป็น- คลื่นตามขวาง เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นน้ำ- คลื่นตามยาว เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่นที่แนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น สปริง เสียงองค์ประกอบของคลื่น - คลื่นตามขวาง ประกอบด้วย สันคลื่น ท้องคลื่น แอมพลิจูด ความยาวคลื่น ความถี่ คาบ อัตราเร็วของคลื่น- คลื่นตามยาว ประกอบด้วย ส่วนอัด ส่วนขยาย ความยาวคลื่นสมบัติของคลื่น มี 4 ประเภท1. การสะท้อน2. การหักเห3. การเลี้ยวเบน4. การแทรกสอด


ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=077319e94ff39886 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์ สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ 2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง 3. เป็นคลื่นตามขวาง 4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง 5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร 6. ไม่มีประจุไฟฟ้า 7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้


ที่มา www.school.net.th/library/snet3/saowalak/.../e_wave.htm



คลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุมีความถี่ช่วง 104 - 109 Hz( เฮิรตซ์ ) ใช้ในการสื่อสาร คลื่นวิทยุมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบคือ 1.1 ระบบเอเอ็ม (A.M. = amplitude modulation) ระบบเอเอ็ม มีช่วงความถี่ 530 - 1600 kHz( กิโลเฮิรตซ์ ) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า "คลื่นพาหะ" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ 1.2 ระบบเอฟเอ็ม (F.M. = frequency modulation) ระบบเอฟเอ็ม มีช่วงความถี่ 88 - 108 MHz (เมกะเฮิรตซ์) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ รับ



ที่มา www.school.net.th/library/snet3/saowalak/.../e_wave.htm


คลื่นดล puse wave คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียวหรือ 2 ครั้ง ทำให้เกิดคลื่นเพียง 1 หรือ 2 ลูกคลื่นเท่านั้น เช่น การโยนก้อนหินก้อนเดียวลงในน้ำ จะพบว่าคลื่นดลเพียงกลุ่มหนึ่งกระจายออกไปโดย รอบ ๆ คลื่นดลอาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดเป็นแนวตรงหรือเป็นวงกลมก็ได้ แล้วแต่แหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดคลื่น


ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=691&Itemid=62



การสั่นและคลื่นเสียง ชอร์กเวฟเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ได้เท่ากับความเร็วของคลื่นหรือเร็วกว่า จะเกิดปรากฎการณ์ที่ว่าสันคลื่นไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ออกไปจากแหล่งกำเนิดเสียง โดยถ้าแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ได้เท่ากับความเร็วของคลื่น สันคลื่นจะเกิดการซ้อนกัน เสริมกันกลายเป็นแอมพลิจูดขนาดใหญ่เรียกว่า ชอร์กเวฟ และเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่น สันคลื่นจะฟอร์มตัวเป็นรูปกรวย โดยมีมุม = sin-1(v/u) อัตราส่วน u/v เรียกว่า เลขมัค (Mach number) ชอร์กเวฟเกิดขึ้นได้บ่อยมากในสถานการณ์ต่างๆกัน ดังเช่น โซนิกบูม คือ ชอร์กเวฟประเภทหนึ่งของเครื่องบินที่วิ่งเร็วเหนือเสียง คลื่นที่เกิดหลังเรือเร็วก็เป็นชอร์กเวฟอีกประเภทหนึ่ง นอกอวกาศก็สามารถจะเกิดชอร์กเวฟได้ อย่างเช่น ลมสุริยะที่วิ่งด้วยความเร็วสูงเข้าชนสนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น


ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/89/sound.html


คลื่นเสียง เสียงเกิดจาก การสั่นของวัตถุ เราสามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยวิธีการ ดีด สี ตีและเป่า เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วยความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง เกิดเป็นช่วงอัดช่วงยายของโมเลกุลของอากาศ ซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียง ตรงกลางส่วนอัดและตรงกลางส่วนขยายโมเลกุลอากาศจะไม่มีการเคลื่อนที่(การกระจัดเป็นศูนย์) / แต่ตรงกลางส่วนอัดความดันอากาศจะมากและตรงกลางส่วนขยายความดันอากาศจะน้อยมาก ดังนั้นคลื่นเสียงจึงเป็นคลื่นตามยาวเพราะโมเลกุลของอากาศจะสั่นในทิศเดียวกับทิศที่เสียงเคลื่อนที่ไป ความดังของเสียงจะขึ้นอยู่กับช่วงกว้างของการสั่น(แอมปลิจูด) ถ้าแอมปลิจูดมากเสียงจะดังมาก การเปลี่ยนความดันอากาศนี้สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จนถึง หูของ ผู้ฟังทำให้ได้ยินเสียง


ที่มา http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/89/sound.html


คลื่นต่อเนื่อง continuous wave เป็นคลื่นที่เกิดจากการรบกวนโมเลกุลของผิวน้ำด้วยการให้พลังงานภายนอกหลาย ๆ ครั้ง ทำให้เกิดคลื่นหลาย ๆ ลูกติดต่อกัน เช่น คลื่นน้ำที่เกิดจากการใช้มอเตอร์ทำให้เกิดคลื่นน้ำต่อเนื่อง



ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=677&Itemid=62


คลื่นผิวน้ำ surface water wave เกิดจากผิวน้ำถูกรบกวน ก่อให้เกิดอาการกระเพื่อมขึ้นลง และการกระเพื่อมจะขยายตัวออกจากจุดแตะไปโดยรอบเป็นวงกลม คลื่นน้ำที่เกิดจากการแตะ (รบกวน) เพียงครั้งเดียว เป็นคลื่น 2 – 3 ลูก เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งต่าง ๆ แล้วหายไป เรียกว่า “คลื่นดล (pulse wave)” แต่ถ้าผิวน้ำถูกรบกวนเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ คลื่นจะออกจากจุดแตะไปโดยรอบอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เรียกว่า “คลื่นต่อเนื่อง (continuous wave)”


ที่มา http://www.electron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=705&Itemid=62


ความถี่ (อังกฤษ: frequency) คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ ในระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้งทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาที อีกหนึ่งวิธีที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา: เมื่อ T คือคาบ


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88



ความถี่ของคลื่นสำหรับคลื่นเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นคลื่นวิทยุหรือแสง) สัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นอื่นๆ ความถี่ในหน่วยเฮิรตซ์ของคลื่นนั้นคือจำนวนรอบที่คลื่นนั้นซำรอยเดิมในหนึ่งวินาที สำหรับคลื่นเสียง ความถี่คือปริมาณที่บ่งบอกความทุ้มแหลมความถี่ของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความยาวคลื่น กล่าวคือความถี่ f มีค่าเท่ากับความเร็ว v ของคลื่นหารด้วยความยาวคลื่น λ (lambda) :ในกรณีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางในสุญญากาศ ความเร็วด้านบนก็คือความเร็วแสง และสมการด้านบนก็เขียนใหม่ได้เป็น:หมายเหตุ: เมื่อคลื่นเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ความถี่ของคลื่นจะยังคงที่อยู่ ในขณะที่ความยาวคลื่นและความเร็วเปลี่ยนไปตามตัวกลาง


ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88



อัตราเร็วของคลื่น (Speed ; v) หมายถึง ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลาและเนื่องจากขณะที่คลื่นเคลื่อนที่ไปด้วย อัตราเร็วค่าหนึ่ง เฟสของคลื่นก็เคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็ว เท่ากัน ดังนั้นในบางครั้งจึงเรียกว่า อัตราเร็วเฟส ( Phase Speed) ของคลื่น ในระบบ SI มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (ms-1)

ที่มา http://www.sa.ac.th/winyoo/mechanicswave/wave_typ.htm


การสะท้อนของแสงและการเกิดภาพจากกระจกเงา 1. การสะท้อนของแสง 1.1 สัญลักษณ์ของลำแสง การเขียนแนวลำแสงหรือรังสีให้เขียนเป็นเส้นตรงที่มีหัวลูกสรกำกับแกนแนวลำแสง และเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า รังสีแสง รังสีแสงมีหลายอย่าง เช่น รังสีขนาน รังสีลู่เข้า รังสีลู่ออก


ที่มา http://thenestacademy.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=402

คลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุมีความถี่ช่วง 104 - 109 Hz( เฮิรตซ์ ) ใช้ในการสื่อสาร คลื่นวิทยุมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบคือ 1.1 ระบบเอเอ็ม (A.M. = amplitude modulation) ระบบเอเอ็ม มีช่วงความถี่ 530 - 1600 kHz( กิโลเฮิรตซ์ ) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า "คลื่นพาหะ" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ 1.2 ระบบเอฟเอ็ม (F.M. = frequency modulation) ระบบเอฟเอ็ม มีช่วงความถี่ 88 - 108 MHz (เมกะเฮิรตซ์) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ รับ

ที่มา www.school.net.th/library/snet3/saowalak/.../e_wave.htm

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์ สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ 2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง 3. เป็นคลื่นตามขวาง 4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง 5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร 6. ไม่มีประจุไฟฟ้า 7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้


ที่มา www.school.net.th/library/snet3/saowalak/.../e_wave.htm

คลื่นกล

คลื่นกล (mechanical wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลาง ในการถ่ายโอนพลังงาน แบ่งเป็น- คลื่นตามขวาง เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นน้ำ- คลื่นตามยาว เกิดจากอนุภาคของตัวกลางเคลื่นที่แนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น สปริง เสียงองค์ประกอบของคลื่น - คลื่นตามขวาง ประกอบด้วย สันคลื่น ท้องคลื่น แอมพลิจูด ความยาวคลื่น ความถี่ คาบ อัตราเร็วของคลื่น- คลื่นตามยาว ประกอบด้วย ส่วนอัด ส่วนขยาย ความยาวคลื่นสมบัติของคลื่น มี 4 ประเภท1. การสะท้อน2. การหักเห3. การเลี้ยวเบน4. การแทรกสอด


ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=077319e94ff39886

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

O-Net 53-57




























ตอบ 3




อธิบาย การสะท้อนของแสงและการเกิดภาพจากกระจกเงา 1. การสะท้อนของแสง 1.1 สัญลักษณ์ของลำแสง การเขียนแนวลำแสงหรือรังสีให้เขียนเป็นเส้นตรงที่มีหัวลูกสรกำกับแกนแนวลำแสง และเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า รังสีแสง รังสีแสงมีหลายอย่าง เช่น รังสีขนาน รังสีลู่เข้า รังสีลู่ออก




ที่มา http://thenestacademy.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=402





















ตอบ 4



ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ).สำหรับคลื่นรูปไซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่นไม่ว่าคลื่นแสงจะเดินทางอยู่ในตัวกลางใด เมื่อเราอ้างถึงความยาวคลื่น มักหมายถึงความยาวคลื่นในสุญญากาศเสมอ
หลุยส์-วิคทอร์ เดอบรอยล์ ค้นพบว่าอนุภาคที่มีโมเมนตัม มีความยาวคลื่นซึ่งสัมพันธ์กับฟังก์ชันคลื่นของอนุภาคนั้น เรียกว่า ความยาวคลื่นของเดอบรอยล์


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99





















ตอบ 3




อธิบาย การสั่นพ้อง (Resonance) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบถูกทำให้สั่น ด้วยความถี่ที่เท่ากับความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) ของระบบนั้นๆ แล้ว ระบบนั้นจะสั่นอย่างรุนแรง หรือ มีช่วงการสั่นกว้างมากที่สุด เช่น โพรงอากาศในท่อปลายปิด จะมีความถี่ธรรมชาติค่าหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเราเคาะส้อมเสียงที่มีความถี่เท่ากับความถี่ของโพรงอากาศ อากาศก็จะสั่นอย่างรุนแรง (เสียงดังมากที่สุด) เกิดเป็นคลื่นนิ่ง (Standing Wave)


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87





























ตอบ 1





อธิบาย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ
ปัจจุบันมีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายๆด้านเช่น การติดต่อสื่อสาร (มือถือ โทรทัศน์ วิทยุ เรดาร์ ใยแก้วนำแสง) ทางการแพทย์ (รังสีเอกซ์) การทำอาหาร (คลื่นไมโครเวฟ) การควบคุมรีโมท (รังสีอินฟราเรด)
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือเป็นคลื่นที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กตั้งฉากกันและเคลื่อนที่ไปยังทิศทางเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 m/s หรือเทียบเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์






สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1.ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่
2.อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง
3.เป็นคลื่นตามขวาง
4.ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
5.ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร
6.ไม่มีประจุไฟฟ้า
7.คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้








ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2

























ตอบ 3

อธิบาย ก่อนที่นิวตันจะค้นพบกฎของแรงโน้มถ่วง ไม่มีใครสามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่า น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากสาเหตุใด พูดง่ายๆก็คือไม่มีใครรู้จริงนั่นเอง แต่ก็ทราบคร่าวๆว่าวันหนึ่งๆมีน้ำขึ้นน้ำลง 2 ครั้ง ซึ่งในตอนนั้นมีการอธิบายง่ายๆอยู่เหมือนกัน ว่า เหตุผลที่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงก็เพราะ โลกมันหมุน จึงทำให้น้ำบนผิวของโลกไปรวมตัวกันอยู่ด้านหนึ่ง และด้านตรงข้ามรูป ขณะที่โลกหมุน น้ำจะไปรวมตัวกันอยู่ที่ด้าน 2 ด้านตรงกันข้ามกัน
ทั้งสองด้านนี้จึงทำให้ดูเหมือนกับโลกนูนขึ้นมา โดยที่บริเวณทั้งสองคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามการหมุน เมื่อตำแหน่งใดของโลกหมุนมาที่บริเวณนี้ มันก็จะเกิดปรากฎการน้ำขึ้น และเมื่อหมุนมาอยู่ระหว่างกลางของทั้งสองด้าน น้ำก็จะลง วันหนึ่งโลกหมุนครบ หนึ่งรอบ ก็จะเกิดน้ำขึ้นและลงอย่างละสองครั้ง การอธิบายง่ายๆแบบนี้ดูเหมือนจะถูกต้อง แต่ถ้าคิดให้ลึกซึ้ง ถ้าพื้นแผ่นดินหรือทวีปไปผ่านบริเวณนี้เข้า น้ำจะไม่ท่วมแผ่นดินหรือ และทำไมการขึ้นลงของน้ำทั้งสองครั้ง ไม่เท่ากัน เพราะถ้าเป็นการอธิบายแบบข้างบนการขึ้นของน้ำทั้งสองครั้งน่าที่จะเท่ากัน
หลังจากที่นิวตันค้นพบกฎของแรงโน้มถ่วง ท่านได้พยายามอธิบายปรากฎการณ์นี้ โดยบอกว่า การขึ้นลงของน้ำ เกิดจากแรงดึงดูดของโลกกับดวงจันทร์ต่างหาก แรงที่โลกดึงดูดดวงจันทร์จะเท่ากับแรงที่ดวงจันทร์ดึงดูดโลก อันนี้ก็คือกฎข้อที่สามของนิวตันนั่นเอง แรงดึงดูดนี้ทำให้ดวงจันทร์หมุนอยู่รอบโลก หรือจะพูดว่าโลกหมุนอยู่รอบดวงจันทร์ก็ได้เช่นเดียวกัน การหมุนรอบซึ่งกันและกันนี้ ทำให้มีจุดหมุนร่วมกันจุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างมวลทั้งสอง จุดนี้ก็คือจุดศูนย์กลางมวลของโลกและดวงจันทร์ เพราะว่ามวลของโลกใหญ่กว่าดวงจันทร์มากดังนั้นจุดศูนย์กลางนี้จะอยู่ใกล้กับโลกมากกว่า หรืออยู่ภายในโลกนั่นเองดังรูป
จุดศูนย์กลางมวลของโลกกับดวงจันทร์ตั้งอยู่ภายในโลกแต่เยื้องออกไปจากแกนกลางของโลก
ลองตอบคำถามด้วยตนเอง
แรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์เป็นไปตามกฎข้อที่เท่าไรของนิวตัน
ตอบ
กฎข้อที่สามของนิวตัน ที่เขียนไว้ว่า แรงกริยาจะเท่ากับแรงปฏิกิริยาเสมอ นั่นคือ แรงที่โลกดึงดูดดวงจันทร์จะเท่ากับแรงที่ดวงจันทร์ดึงดูดโลก
จากกฎข้อที่สามของนิวตัน เราสามารถนำมาใช้อธิบายการเกิดน้ำขึ้นและลงได้ การที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลกหรือโลกหมุนรอบดวงจันทร์ แสดงว่าต้องมีความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง (centripetal acceleration) ความเร่งนี้แหละที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับน้ำขึ้นและลง
ลองพิจารณาว่าโลกอยู่เหนือดวงจันทร์ และถูกดวงจันทร์ดูดโลกเข้าไป ทำให้โลกวิ่งเข้าหาดวงจันทร์ ดังรูป
แรงดึงดูดนี้เป็นแรงดึงดูดที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างมวล ขนาดของแรงแปรผกผันกับระยะห่างระหว่างมวลยกกำลังสอง ดังนั้นแรงที่กระทำกับโลกบริเวณที่ใกล้กับดวงจันทร์มากที่สุด จะเกิดแรงมากที่สุดด้วย น้ำในมหาสมุทรจึงถูกดูดเข้ามาในบริเวณนี้มากกว่าบริเวณอื่น ส่วนน้ำด้านข้างของโลกทั้งสองจะลีบลง ส่วนด้านตรงกันข้ามมีแรงกระทำเหมือนกัน แต่ว่าน้อยกว่าด้านที่ติดกับดวงจันทร์ มันจึงดูดน้ำจำนวนมหาศาลให้ติดกับผิวโลก แต่ไม่สามารถเลื่อนมาทางด้านหน้าได้ จึงเกิดการนูนขึ้นอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นด้านตรงกันข้าม แต่ว่าการนูนน้อยกว่า ด้านใกล้
ด้วยเหตุผลนี้ที่ทำให้ด้านที่ติดกับดวงจันทร์ เกิดน้ำขึ้น ส่วนด้านตรงกันข้ามก็น้ำขึ้นเหมือนกันแต่น้อยกว่าด้านแรก ส่วนด้านข้างสองด้าน ซึ่งมีลักษณะลีบ น้ำจะลง วันหนึ่งๆ โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ น้ำจะขึ้นและลงอย่างละ 2 ครั้ง ให้เราสังเกตดูว่า การขึ้นของน้ำในแต่ละวัน จะไม่เป็นเวลาเดียวกัน เหตุผลนั้นคุณตอบได้หรือไม่
เวลาปกติระหว่างน้ำขึ้น ถึงน้ำขึ้นอีกครั้ง เท่ากับ 12 ชั่วโมง 25 นาที น้ำขึ้นจะไม่เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่บนศีรษะ แต่จะต้องใช้เวลาอีก 6 ชั่วโมง หลังจากที่มาอยู่บนศีรษะแล้ว เหตุผลเกิดจากแรงเสียดทานและความเฉื่อยของน้ำ และยังมีความลึกที่แตกต่างกันของมหาสมุทรด้วย
ความสูงของน้ำขึ้นและลง วัดในมหาสมุทรมีความแตกต่างกันประมาณ 1 เมตร แต่ถ้าไปวัดตามชายฝั่งจะได้มากกว่านี้ เพราะว่า ลักษณะของชายฝั่งจะช่วยให้การขึ้นลงของน้ำทะเลเพิ่มระดับขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างอ่าวฟันดี้ในประเทศแคนาดา ระดับน้ำขึ้นและลงวัดได้ต่างกันถึง 16 เมตร หรือ 54 ฟุต

รูป ตัวอย่างการขึ้นและลงของน้ำในทะเล
เราสามารถนำกฎของนิวตันไปใช้กับแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์กับโลกได้ในลักษณะเดียวกัน จากการคำนวณพบว่า ความสูงของน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ เป็นครึ่งหนึ่งของที่เกิดจากดวงจันทร์ ซึ่งมีค่าน้อยกว่า ทั้งๆที่แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์กับโลกมีมากกว่าจากดวงจันทร์ 180 เท่า แต่ว่าผลของดวงอาทิตย์กลับน้อยกว่า เนื่องจากว่าโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ทำให้ผลที่เกิดบนโลกทั้งสองด้านมีความแตกต่างไม่มากเท่าที่ควร และถ้าเป็นผลจากดาวนพเคราะห์ดวงอื่นๆที่อยู่ในระบบสุริยะจักรรวาล ยิ่งมีผลน้อยลงไปอีก ยกตัวอย่างเช่นดาวพฤหัสบดี มีผลเพียง 1 ใน 10 ล้าน เมื่อ เทียบกับผลของดวงอาทิตย์
สำหรับพื้นผิวบนโลก เช่น เปลือกทวีป ถึงแม้ว่าจะแข็งกว่ามหาสมุทร แต่ว่าพื้นผิวทวีปก็มีการขึ้นและลงเช่นเดียวกันกับมหาสมุทร เมื่อน้ำขึ้น มีคนเคยไปวัดพบว่าแผ่นดินมีการพองขึ้นจากเดิมประมาณ 23 เซนติเมตร หรือ 9 นิ้ว แต่เนื่องจากพื้นดินกว้างมาก และพองขึ้นมาพร้อมๆกัน จึงไม่สามารถจะสังเกตผลอันนี้ได้
ลองตอบคำถามด้วยตนเอง
น้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุด แสดงว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ อยู่ด้านเดียวกับโลก (เริ่มข้างขึ้น) หรืออยู่ตรงกันข้าม( ขึ้น 15 ค่ำ) หรือทำมุมฉากกัน
ตอบ
น้ำขึ้นได้สูงสุดและต่ำสุด เกิดขึ้นเมื่อ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ อยู่ด้านเดียวกับโลก (เริ่มข้างขึ้น) หรืออยู่ตรงกันข้าม( ขึ้น 15 ค่ำ)
มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับน้ำขึ้นน้ำลง
มองดูผิวเผินคุณอาจคิดว่าด้านที่อยู่ใกล้กับดวงจันทร์มากที่สุดน้ำจะขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ เราทราบว่าทั้งโลกและดวงจันทร์หมุนรอบจุดศูนย์กลางมวลค่าหนึ่ง และจุดศูนย์กลางดังกล่าวก็อยู่บนโลกเสียด้วย ดังนั้น ด้านที่อยู่ใกล้กับดวงจันทร์จะถูกแรงดึงดูดทำให้น้ำขึ้น
ส่วนอีกด้านหนึ่งแรงหนีศูนย์กลางของโลกจะเหวี่ยงน้ำทำให้น้ำขึ้นทางด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ได้เช่นเดียวกัน จากรูป โลกจะดูคล้ายกับลูกรักบี้ เนื่องจากน้ำไปออกันอยู่ทั้ง 2 ด้าน โชคดีที่ว่าโลกมีแรงดึงดูดมากกว่าดวงจันทร์ ไม่เช่นนั้นโลกจะถูกแรงดึงดูดของดวงจันทร์แย่งน้ำไปหมด และที่ระดับน้ำขึ้นลงต่างๆนั้นก็เพราะว่าผิวของโลกโค้ง ทำให้ระยะห่างจากดวงจันทร์ไม่เท่ากันทุก ๆ จุด จึงมีผลทำให้แรงดึงดูดไม่เท่ากันไปด้วย

ที่มา http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/physics1/tides/tides.htm

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ส่งงาน o-net 2551

http://cid-735cf8f27387a787.office.live.com/self.aspx/science52/5226-5227.docx



นส. จริยา แสงเดือน ม.6/2 เลขที่ 20
นส. วันนิภา อินคชสาร ม.6/2 เลขที่ 39